วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชื่
อสามัญ Chinese rose ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus rosa sinensis. ตระกูล MALVACEAE ถิ่นกำเนิด จีน อินเดียและฮาวาย ลักษณะทั่วไป ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูป ร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย การดูแล แสง ชอบแสงแดดมาก น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก การขยายพันธ์ ตอน ปักชำ โรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่ การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก ลักษณะเด่นของพืชชนิดนี้ คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ 1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย 2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน 3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง การขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ 1.การปักชำ 2.การเสียบยอด 3.การติดตา โรคและแมลงศัตรู 1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ 2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง 3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก สรรพคุณทางยาและประโยชน์ ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม
ประวัติ ของชวนชมถิ่นกำเนิดของชวนชมมีการค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ P. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่า ในปี พ.ศ. 2305 แต่ตอนนั้นเชื่อว่าเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2357 นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ (Josef August Schultes) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทมจนเป็นที่ยอมรับ ส่วนในประเทศไทย มีการพบชวนชมตั้งแต่ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ก็ไม่ทราบว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไร การปลูกเลี้ยงควรปลูกในที่มีแสงแดดจัดในช่วงครึ่งวันเช้า ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วน ระบายน้ำได้ดีสูตรที่นิยมให้ปลูกคือดินร่วนผสมใบก้ามปูหมักในอัตราส่วน 3:1 หรือดินปลูกสำเร็จรูปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ชวนชมลำต้นอุ้มน้ำได้ดีการให้น้ำจึงไม่ควรให้บ่อยจนเกินไป อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การให้ปุ๋ยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 สูตรเสมอในปริมาณแต่น้อยทุก 2 สัปดาห์เมื่อโตเต็มที่จึงเปลี่ยนเป็นปุ๋ยเร่งดอกสูตร 8-24-24 ทุก 2 สัปดาห์ การตัดตกแต่งกิ่งต้นชวนชม โดยธรรมชาติของชวนชมเป็นต้นไม้ที่มีความอ่อนช้อย การตัดแต่งกิ่งควรตัดกิ่งเกะเก้งก้างออกไปเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกละได้โชว์โขดหรือหวัที่สวยงานของชวนชม การขยายพันธ์ ทำได้โดยการเพาะเมล็ดการเสียบยอด ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด การเพาะเมล็ด
ควรใช้เมล็ดใหม่ไม่ควรใช้เมล็ดเก่าเก็บไว้นานเมล็ดใหม่จะมีเปอร์เซ็นต์ในการงอกเยอะกว่า นำเมล็ดไปเพาะในตะกร้าที่มีส่วนผสมของทรายหยาบกับขุยมะพร้าวในอัตราส่วน 1:1 การเสียบยอด ต้องคัดต้นตอที่แข็งแรง ขนาดตามต้องการ จากนั้นตัดยอดของต้นตอตามขวาง ผ่าให้เป็นรูปตัววี และนำยอดพันธ์ดี ของชวนชม ซึ่งเป็นพันธ์ที่คัดเลือกไว้แล้ว ความยาวประมาณ1.5-2นิ้ว แล้วบากให้เป็นลิ่ม กะขนาดให้พอดีกับรูปตัววีที่ผ่าไว้ที่ต้นตอจากนั้นนำยอดพันธ์ไปเสียบที่ต้นตอ ระวังอย่าให้ต้นช้ำ พันด้วยพลาสติกใสพันต้นไม้ คลุมด้วยถุงพลาสติกแล้วมัดด้วยเชือก ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน จะสังเกตุเห็นชวนชมที่นำไปเสียบ เริ่มแตกใบอ่อน จึงแกะถุงพลาสติกที่คุลมออกจะได้ต้นชวนชมพันธ์ใหม่ตามที่ต้องการ

เอื้องจำปาน่าน

ประเภทพันธุ์ไม้ : กล้วยไม้พันธุ์แท้ ประเภทสินค้า : พันธุ์ไม้แนะนำ ราคา : 80 บาท ค่าจัดส่งEMS : สั่งซื้อ 1-5 นิ้ว คิดค่าจัดส่ง 80 บาท หากสั่งซื้อมากกว่า 5 ต้นขึ้นไปคิดค่าจัดส่งที่ 100 บาท ครับ เอื้องจำปาน่าน เป็น กล้วยไม้ ไทยสกุลหวายพันธุ์แท้ใน กลุ่มเอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องมัจณานุ และเอื้องมอนไข่ กล้วยไม้ในกลุ่มนี้มีลักษณะเด่นที่ช่อดอกห้อยย้อย ลงมาเป็นพวงมี ดอกดกและมีกลิ่นหอม เอื้องจำปาน่านเป็นชนิดเดียวในกลุ่มนี้ที่มีลำลูกกล้วย หรือลำต้นต้นมีความสูงปานกลาง มีลักษณะแบน เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากกล้วยไม้ หวายไทยในกลุ่มนี้ ชนิดอื่นๆ จำปาน่านมีช่วงฤดูดอกในช่วงเดือนกุมภา-เมษายน ลักษณะช่อดอกมีขนาดประมาณ๓ซม.ช่อดอกแน่น ก้านดอกสั้น ดอกสีเหลืองเรียงชิดกันเป็นกระจุก ที่กลีบปากด้านในมีเส้นแต้มขีดสีน้ำตาลแดงเข้ม หากในต้นที่สมบูรณ์มากๆ สามารถให้ดอกได้๑o-๒o ดอกในช่อ กล้วยไม้ ชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์ ในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาวและจีน และเวียดนาม การปลูกเลี้ยงเช่นเดียวกับเอื้องมอนไข่ เหมาะสำรับปลูกในภาชนะแขวน ชอบที่ร่มรำไรไม่ควรปลูกในที่แสงจัด เพราะอาจทำให้ใบเหลืองหรือใบไหม้ได้เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่ใบบาง วัสดุปลูกที่เหมาะสม ควรเก็บความชื้นได้ดีพอควรแต่ไม่แฉะัหรืออุ้มน้ำมากจนเกินไป เพราะเอื้องจำปาน่าน มีรากขนาดเล็ก หากเครื่องปลูกแฉะมากอาจทำให้รากและโคนเน่าได้ ในช่วงฤดูหนาว ควรปรับระยะการรดน้ำให้พอเหมาะเว้นช่วงให้ กล้วยไม้ ได้พักตัว เพราะในธรรมชาติเป็น กล้วยไม้ ชนิดที่มีวงรอบการเจริญเติบโตในหน้าฝน และมีช่วงระยะเวลาที่ต้น กล้วยไม้ชลอการเจริญเติบโต อย่างชัดเจนในฤดูที่อากาศแห้ง และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศลดต่ำลง การรดน้ำวันละครั้งในช่วงปรกติ และอาจเว้นวัน ในช่วงฤดูหนาว การให้ปุ๋ยสามารถใช้ได้ทั้งปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำ ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง หรือปุ๋ยเม็ดละลายช้า

ไม้นิ้ว เอื้องนางลม

ประเภทพันธุ์ไม้ : กล้วยไม้พันธุ์แท้ ประเภทสินค้า : พันธุ์ไม้แนะนำ ราคา : 90 บาท ค่าจัดส่งEMS : สั่งซื้อ 1-5 นิ้ว คิดค่าจัดส่ง 80 บาท หากสั่งซื้อมากกว่า 5 ต้นขึ้นไปคิดค่าจัดส่งที่ 100 บาท ครับ กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นกล้วยไม้สกุลหวายไทยขนาดเล็กแคระ เป็นกล้วยไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันตกของไทย ชื่อวิทยศาสตร์ ของเอื้องนางลม นี้ตั้งตาม ชื่อเมืองเปกู (Pegu) ในประเทศพม่า สันนิฐานว่าน่าจะตั้งชื่อตาม สถานที่ค้นพบครั้งแรก ลักษณะเป็นกล้วยไม้อิงอาัศัย พบอยู่บนคาคบไม้ ในป่าดิบแล้ง ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลื่ยนแปลงของฤดูกาลชัดเจน กล้วยไม้ชนิดนี้ ลักษณะลำลูกกล้วยอ้วนป้อมสูงเพียง๑-๒ นิ้ว เมื่อโตเต็มที่ ก้านดอกออกที่ข้อบนส่วนปลาย ก้านดอกสั้นดอกแน่นเป็นกระจุกสีขาวกลีบปากสีน้ำตาลแดง ดอกมีกลิ่นหอม เอื้องนางลม จะเจริญเติบโตแทงหน่อใหม่และสร้างลำต้นเก็บสะสมอาหารในช่วงร้อน-ฤดูฝน และเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวมักจะทิ้งใบพักตัวและออกดอกตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ ปัจจุบัน กล้วยไม้ชนิดนี้อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม จนใกล้สูญพันธุ์ จากแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ การปลูกเลี้ยง มักนิยมปลูกใส่กระถางขนาดเล็ก หรือปลูกติดไม้แขวน ชอบแสงค่อนข้างมาก อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรใช้วัสดุปลูกที่อุ้มน้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้รากและโคนเน่าง่าย ควรลดความถี่ในการให้น้ำลงเมื่อถึงช่วงพักตัว เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่ในธรรมชาติเจริญเติบโตและกระจายพันธุ์ในป่าแล้ง กล้วยไม้ชนิดนี้ จึงเป็นชนิดที่ทนต่อสภาพ อากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดี อีกชนิดหนึ่ง สามมารถปลูกเลี้ยงได้ง่ายทุกภูมิภาคของไทย

กล้วยไม้ขวด

ประเภทพันธุ์ไม้ : กล้วยไม้พันธุ์แท้ ประเภทสินค้า : กล้วยไม้ขวด (ใน1ขวด มีจำนวน 25-30 ต้น) ราคา : 350 บาท ค่าจัดส่งEMS : ค่าส่งขั้นต่ำ 80 บาทต่อ1 - 3 ขวดเฉพาะแบบออกขวด และ 100 บาทในกรณีส่งทั้งขวด (หากมีการเปลี่ยนแปลงค่าจัดส่งจะแจ้งภายหลังทางอีเมล์ครับ) กล้วยไม้ขวดชุดนี้เป็นลูกผสม ชั้นต้นกล้วยไม้ไทยในสกุลเอื้องกุหลาบ ระหว่างเอื้องกุหลาบแม่เมย(กุหลาบน่าน) กับเอื้องกุหลาบมาลัยแดง ทั้งคู่เป็นกล้วยไม้ทีมีกลิ่นหอมดอกขนาดเล็กก้านดอกยาว มีจำนวนดอกในช่อมาก ดอกเป็นช่อห้อยสีพื้นดอกเป็นสีชมพู ต้นพ่อพันธุ์กุหลาบมาลัยแดง มีลักษณะกลีบดอกที่หนา บานทนมากว่าหนึ่งสัปดาห์ขึ้นไป กล้วยไม้ ลูกผสมชุดนี้ น่าจะเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกดกเรียงเป็นระเบียบ มีดอกสีโทนชมพูและมีกลิ่นหอมไม่ต่างจากต้นพ่อแม่พันธุ์มากนัก กล้วยไม้ไทยลูกผสมชุดนี้ เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงปลูกเลี้ยงง่าย ทนสภาพอากาศร้อนได้ดี ชอบแสงร่มรำไร ความชื้นปานกลาง อากาศถ่ายเทสะดวก การดูแลเช่นเดียวกับสกุลช้างหรือแวนด้า

กล้วยไม้

ประเภทพันธุ์ไม้ : กล้วยไม้พันธุ์แท้ ประเภทสินค้า : พันธุ์ไม้แนะนำ ราคา : 80 บาท ค่าจัดส่งEMS : สั่งซื้อ 1-5 นิ้ว คิดค่าจัดส่ง 80 บาท หากสั่งซื้อมากกว่า 5 ต้นขึ้นไปคิดค่าจัดส่งที่ 100 บาท ครับ ช้างสารภี เป็นกล้วยไม้ ขนาดใหญ่ ใบหนา ถึงแม้จะมีชื่อ เหมือนกล้วยไม้สกุลช้าง แต่ กล้วยไม้ชนิดนี้ อยู่ในสกุล อแคมเป (Acampe) ชื่อสกุลตั้งขึ้นจากรากศัพท์ภาษากรีกโบราณ สื่อความหมายถึงลักษณะใบที่หนาแข็ง ของกล้วยไม้ในสกุลนี้ ถิ่นฐานการกระจายพันธุ์ อยู่ในแถบแอฟริกาเขตร้อน แอฟริกาใต้ เกาะมาดากัสก้า และ เอเซีย ในประเทศไทยมีอยู่4-5สายพันธุ์ โดย ช้างสารภีเป็น กล้วยไม้ชนิดที่ต้นและดอกใหญ่ทีสุดในสกุลนี้ ช้างสารภีเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ในป่าระดับต่ำและป่าดิบเขา เป็นกล้วยไม้ที่มีดอกขนาดเล็กเมื่ิเทียบกับขนาดต้น แต่ดอกดก เรียงเป็นชั้น อยู่บนก้านดอกที่ยาวออกมาจากด้านข้างลำต้น ในต้นที่สมบูรณ์ อาจมีช่อดอกได้มากว่าสามช่อขึ้นไป กลีบดอกหนามาก พื้นดอกสีเหลือง มีลายบั้งสีน้ำตาลแดง รูปทรงดอกคล้ายกลีบลำดวน ดอกมีกลิ่นหอมแรง เป็นกล้วยไม้ที่ดอกบานทนนานอีกชนิดหนึ่ง ฤดูดอกบานในช่วงเดือน ตุลาคม-มกราคม การปลูกเลี้ยงดูแลรักษาง่าย เพราะเป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโต ได้ในที่ที่อากาศร้อน สามารถปลูกเลี้ยงได้ทุกภูมิภาคของไทย การดูแลเช่นเดียวกับกล้วยไม้ ในสกุลแวนด้า หรือสกุลเข็ม ชอบสภาพแสงและความชื้นปานกลาง นิยมปลูกในภาชนะแขวน วัสดุปลูกสามารถใช้ถ่าน กาบมะพร้าว หรือวัสดุที่ปลูกที่โปร่งระบาย น้ำและอากาศได้ดี การให้น้ำ วันละครั้ง ตอนเช้า หรือช่วงค่ำ สถานที่ปลูก ควรมีแสงรำไร อากาศถ่ายเทสะดวก ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ อาจใช้สลับกับปุ๋ยสูตรตัวกลางตัวท้ายสูง ตามอัตราส่วนอาทิตย์ละครั้ง สารเคมีป้องกันเชื้อรา ฉีดพ่นสลับกันเป็นระยะเดือนละ๑-๒ ครั้ง การดูแลที่เหมาะสม จะทำให้กล้วยไม้แข็งแรงสมบูรณ์ และออกดอกสวยงามครับ

พืชดอก

พืชดอก
 พืชดอก หมายถึง  พืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีดอกให้เห็น
 พืชดอกจัดเป็นพืชชั้นสูงที่มีอวัยวะต่างๆ ครบสมบูรณ์ คือ ราก ลำต้น ใบ ตา ดอกและ
  เมล็ด มีไว้เพื่อสำหรับขยายพันธุ์  พืชดอกมีอยู่ทั่วไปหลายชนิด มีทั้งที่อยู่บนบกและอยู่ในน้ำ ได้แก่
                - พืชดอกที่อยู่บนบก ได้แก่ มะม่วง  ชบา กุหลาบ  มะเขือ  มะขาม  มะพร้าว
        ฟักทอง มะละกอ  มะลิ   มะกอก
                -  พืชดอกที่อยู่ในน้ำ ได้แก่  บัว  สันตะวา  ผักตบชวา  ผักกระเฉด  จอก  แหน
        พืชดอกแบ่งได้ 2 ประเภท
1. พืชยืนต้น  คือพืชที่มีอายุยืน  ส่วนต่างๆ ของลำต้นสามารถเจริญเติบโตได้ ตลอดอายุ  ออกดอกออกผลได้หลายครั้ง เช่น ยางพาราและไม้ผลต่าง ๆ พวกมะม่วง   มะพร้าว  มะขาม  กระท้อน เป็นต้น\
2. พืชล้มลุก  คือพืชที่มีการเจริญเติบโตเพียงแค่ออกดอกออกผลในระยะเวลา  อันสั้น แล้วก็ตาย  พืชล้มลุกที่จำเป็นสำหรับมนุษย์มาก ได้แก่ พืชจำพวกผักต่างๆ ผักกาด  ผักชี  ต้นหอม  กะหล่ำปลี  บวบ  ฟักทอง  ฯลฯ
  Flowering plant